ดูละครแล้วย้อนมาดูลูกบ้าง
ปฏิเสธไม่ได้ว่า เด็กที่ติดละคร และมีพฤติกรรมเลียนแบบละครส่วนใหญ่มาจากพ่อแม่ที่ติดละคร นอนดึก และไม่มีวินัยในการนอน การปลูกฝังวินัยให้ลูกนอนแต่หัวค่ำ เป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างให้ลูกเห็น โดยเฉพาะเด็กเล็กที่หากนอนดึก อาจส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ได้ ทางที่ดี ไม่ควรให้ลูกมาคอยเพื่อนอนรอพ่อแม่ดูละคร แต่ควรพาลูกเข้านอนก่อนแล้วค่อยลงมาเปิดดู และยิ่งมีทางเลือกจากการดูละครย้อนหลังด้วยแล้ว อาจหาเวลาว่างเปิดดูได้ตลอดเวลาปฏิเสธไม่ได้ว่า เด็กที่ติดละคร และมีพฤติกรรมเลียนแบบละครส่วนใหญ่มาจากพ่อแม่ที่ติดละคร นอนดึก และไม่มีวินัยในการนอน การปลูกฝังวินัยให้ลูกนอนแต่หัวค่ำ เป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างให้ลูกเห็น โดยเฉพาะเด็กเล็กที่หากนอนดึก อาจส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ได้ ทางที่ดี ไม่ควรให้ลูกมาคอยเพื่อนอนรอพ่อแม่ดูละคร แต่ควรพาลูกเข้านอนก่อนแล้วค่อยลงมาเปิดดู และยิ่งมีทางเลือกจากการดูละครย้อนหลังด้วยแล้ว อาจหาเวลาว่างเปิดดูได้ตลอดเวลา
อินได้แต่อย่ามาก
อารมณ์สะใจจนดูโอเวอร์ของผู้ใหญ่ โดยเฉพาะพ่อแม่ที่นั่งดูไปพร้อมๆ กันกับเด็กนั้น หลายคนอาจหลุดพฤติกรรม และวาจาที่ไม่เหมาะสมออกมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นความสะใจ คาดแค้นแทนตัวละคร สิ่งเหล่านี้ หากเด็กได้เห็นพ่อแม่กำลังด่าทอนางร้าย หรือสาปแช่งให้ไปตาย อาจไม่สนุกอย่างที่คิดได้ เพราะคุณกำลังสร้างค่านิยมใหม่ๆ ให้ลูกแบบเนียนๆ และอย่างชอบธรรมว่าความรุนแรง และเรื่องเพศเป็นเรื่องปกติที่คนใกล้ตัวของเขายังทำได้เลย
ถึงวันนี้ เราคงต้องยอมรับว่า ละครเป็นของคู่กันของคนไทย แต่สำหรับเด็ก การมีพ่อแม่คอยแนะนำอยู่เคียงข้าง คือ ความจำเป็นที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อจาก “ละครหลังข่าว” เห็นได้จากคำสัมภาษณ์ของ คุณเรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป นักวิจัยด้านศึกษาและพัฒนาการศึกษาเด็กปฐมวัย เคยให้ความเห็นเกี่ยวกับละครไทยไว้อย่างน่าสนใจว่า
ฝึกเด็กให้คิดเป็น
เด็กทุกคนต้องการพี่เลี้ยง ที่ปรึกษา และบุคคลที่จะเป็นพี่เลี้ยงของเด็กได้ดี ก็คือ พ่อแม่ เนื่องจากเด็ก โดยเฉพาะวัยรุ่นจะเน้นที่การแสดงออกทางอารมณ์ จึงต้องมีการพัฒนาสมองในส่วนการรู้คิดตั้งแต่เด็ก หวังไปพึ่งระบบการศึกษาบ้านเราก็ยังไม่พัฒนาทักษะการรู้คิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาให้แก่เด็กได้ดีเท่าที่ควร ทางที่ดี พ่อแม่ และครูต้องฝึกให้เด็กคิด และวิเคราะห์เป็น เพราะบางครั้ง การสอนแบบอบรมสั่งสอนอาจใช้ไม่ได้ผล ซึ่งการสอนให้เด็กคิด และวิเคราะห์เพื่อรู้เท่าทันสื่อ เริ่มได้ง่ายๆ จากการชวนกันตั้งคำถาม และข้อสังเกต
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กลายเป็นเรื่องเดิมๆ ที่หลายฝ่ายพยายามเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยกันแก้ปัญหา และสิ่งที่ดูเหมือนจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาอย่าง “เรตติ้งละครโทรทัศน์” ก็ดูเหมือนจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาถึงความไม่ใส่ใจในตัวเนื้อหา รวมไปถึงความเหมาะสมของช่วงเวลาออกอากาศ เป็นเหตุให้เด็กเข้าถึง และเลียนแบบพฤติกรรมความรุนแรง และการใช้ภาษาจนเกิดปัญหาอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
“อย่าเอาความบันเทิงหยาบๆ ที่หาดูได้ง่าย มาใส่ให้เด็กบันทึกลงในชีวิตทุกวันๆ เลย เพราะเมื่อเด็กเห็นพฤติกรรมเหล่านี้บ่อยๆ เด็กก็รับ รับ รับไปเรื่อยๆ เพราะตอนดูนั้น ตัวละครแสดงไปเรื่อยๆ สีสันมันดึงให้อินจนไม่มีเวลาหยุดคิด พ่อแม่ควรพูดคุย ชี้แนะและแลกเปลี่ยนความเห็นต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของตัวละคร อย่าเอาแต่จดจ่อรอสะใจ ที่ได้เห็นตัวละครตบตีกัน ถากถางกัน หรือมองเป็นเรื่องขำๆ ซึ่งกรรมจะตกอยู่ที่เด็กเอาได้”
ขอบคุณเรื่องจาก : PB-mag.com
Comentários