วิธีรับมือสารพัดโรคภัยเมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ
ผู้สูงอายุ ถือว่าเป็นวัยที่ต้องได้รับการดูแลอย่างเป็นพิเศษ เนื่องจากเหตุผลทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ ที่มีปัจจัยเรื่องโรคภัยไข้เจ็บเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นเรื่องการเริ่มต้นดูแลสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เหล่าลูกหลาน หรือแม้กระทั่งผู้สูงวัยควรเอาใจใส่กันค่ะ เพราะเริ่มต้นได้ดีและว่องไวมีชัยดีกว่าครึ่ง วันนี้ท็อปส์ พิกส์ เลยขอชวนลูกๆ หลานๆ ทุกคน พร้อมกับเหล่าผู้สูงวัย มาทำความรู้จักกับวิธีรับมือกับสารพัดโรคภัยไข้เจ็บเมื่อจะต้องก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ เพื่อที่จะรับมือกันค่ะ อยากรู้ว่าจะมีโรคไหนที่ผู้คนในสังคมไทยควรใส่ใจบ้าง ตามแอดมินไปชมกันเลยค่ะ
โรคกระดูกพรุน
เมื่ออายุมากขึ้นแคลเซียมของคนเราจะค่อยๆ สลายออกไป จึงทำให้กระดูกเปราะและแตกหักได้ง่าย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มักจะเกิดปัญหาอื่นๆ เกี่ยวกับกระดูกตามมาไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวไม่สะดวก หรือมีปัญหาอาการอักเสบในบริเวณที่ถูกกดทับบ่อยๆ อีกทั้งยังมีปัญหากระดูกผิดรูปอย่างหลังค่อมจนเห็นได้ชัด ถ้าทุคนไม่อยากให้โรคนี้มาลุกล้ำร่างกายเหล่าชาวอาวุโส แอดมินขอแนะนำให้ลูกๆ หลานๆ พาผู้สูงอายุที่บ้านไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กมวลกระดูกที่โรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้รับมือกับปัญหาโรคกระดูกพรุนได้อย่างถูกวิธี และอาจจะลองมองหาอาหารเสริมแคลเซียมอย่างนมสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อบำรุงกระดูกให้ชาวอาวุโสแข็งแรงยิ่งขึ้นร่วมด้วยก็ได้เช่นกันค่ะ
โรคอัลไซเมอร์
เมื่อเข้าสู่ช่วงสูงวัย เซลล์ภายในสมองต่างๆ อาจมีประสิทธิภาพลดน้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุหลายคนเริ่มมีอาการหลงลืม สับสน และงุงงงอยู่บ่อยๆ จนพัฒนากลายเป็นโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ในที่สุด โดยอาการเหล่านี้ก็อาจจะเกิดจากโรคภัยต่างๆ ที่ส่งผลให้สมองสั่งการช้า ทั้งโรคความดันโลหิตสูง หรือมีปริมาณไขมันในเลือดสูง และถึงแม้ว่าภาวะสมองเสื่อม หรือโรคอัลไซเมอร์จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อาการเหล่านี้สามารถชะลอการเกิดได้ค่ะ ด้วยการหมั่นทำกิจกรรมกระตุ้นสมอง ทั้งการอ่านหนังสือ เล่นเกม วาดรูป เพื่อกระตุ้นสมองส่วนการคิด และความจำอย่างต่อเนื่อง หรือเพื่อนๆ อาจจะลองชวนผู้สูงอายุคุยบ่อยๆ เพื่อฝึกสมองในส่วนการมีปฏิสัมพันธ์ ก็เป็นอีกทางเลือกที่จะชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ด้วยค่ะ
โรคที่เกี่ยวกับระบบขับถ่าย
ผู้สูงอายุ วัยที่ผ่านการใช้ร่างกายมาอย่างหนักหน่วง จึงอาจจะทำให้เกิดปัญหาร่างกายเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในระบบขับถ่าย ที่อาจจะมีการปัสสาวะเล็ด หรือกลั้นอุจจาระไม่อยู่ และในบางคนที่อาจมีภาวะท้องผูกเป็นประจำ เนื่องจากการดื่มน้ำน้อย เคลื่อนไหวน้อย หรืออาจจะมาจากผลของยาบางชนิดที่ต้องทานอยู่ประจำ ในเมื่อชาวอาวุโสหลีกเลี่ยงกับโรคที่เกี่ยวข้องในระบบขับถ่ายไม่ได้ แต่ก็สามารถรับมือได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยปรึกษาแพทย์ในกาเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ ค่อยๆ ฝึกให้กลั้นปัสสาวะและอุจจาระได้ดียิ่งขึ้น หรือถ้าหากกลั้นไม่ได้ก็ลองหาแผ่นอนามัย หรือผ้าอ้อมผู้ใหญ่ เพื่อฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลามากขึ้น และสิ่งสำคัญที่สุดเลยก็คือเหล่าผู้สูงวัยจะต้องทานน้ำเปล่าในปริมาณที่พอเหมาะในแต่ละวัน เพื่อขับของเสียออกจากร่างกายให้เป็นไปอย่างปกติกันนะคะ
โรคซึมเศร้า
ภาวะซึมเศร้านี้สามารถพบได้บ่อยในผู้สูงอายุทุกคน ไม่ว่าจะเคยทำงานในช่วงก่อนหน้านี้ แล้วจะต้องมาอยู่เฉยๆ อย่างกะทันหัน หรืออาจจะเกิดจากขาดคนดูแล และห่างใกลจากคนในครอบครัว ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ลูกๆ หลานๆ ควรใส่ใจอย่างใกล้ชิดเช่นกันค่ะ ซึ่งโรคซึมเศร้าอาจจะทำให้ผู้สูงอายุมีอาการคิดมาก นอนไม่หลับ ปลีกวิเวกแยกตัวออกมาคนเดียว บางรายก็จะมีอาการทางกายอย่างเบื่ออาหาร หรืออาการเจ็บป่วยตามร่างกายแบบไม่มีสาเหตุ เรามาหยุดยั้งปัญหาโรคซึมเศร้าในผู้สูงวัยอย่างทันท่วงทีได้โดยการคอยเอาใจใส่พวกเขาอย่างสม่ำเสมอ คอยถามไถ่สารทุกข์สุขดิบทั้งเรื่องอาการทางกายและจิตใจ หรืออาจจะหากิจกรรมทำร่วมกันระหว่างครอบครัว เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างวัยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ก็เป็นอีกวิธีรับมือหนึ่งที่แอดมินอยากแนะนำให้ทุกคนลองไปทำกับผู้อาวุโสที่บ้านกันค่ะ
ภาวะทรงตัวไม่อยู่
เนื่องจากการเสื่อมถอยของระบบประสาทและสมอง รวมไปถึงระบบกล้ามเนื้อ และมวลกระดูกในร่างกายผู้สูงอายุที่ลดน้อยถอยลงในทุกๆ วัน จึงอาจทำให้เกิดปัญหาภาวะทรงตัวไม่อยู่ จนอาจจะเกิดการล้มตัวลงอย่างฉับพลันในผู้สูงวัย ซึ่งเป็นสาเหตุในการป่วยในผู้สูงวัยที่พบได้บ่อย และอันตรายมากๆ จนอาจจะบาดเจ็บรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียวค่ะ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ แอดมินขอแนะนำให้ทุกคนดูแลผู้สูงอายุที่บ้านอย่างใกล้ชิด รวมถึงต้องคอยปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้สว่าง มีราวจับอยู่ในทุกจุด และเพิ่มพรมกันลื่น เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ หากผู้อาวุโสภายในบ้านจำเป็นต้องอยู่ตามลำพังจริงๆ ค่ะ
โรคที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ขอปิดท้ายด้วยอาการหูอื้อ หรือหูตึง ที่พบได้บ่อยเมื่อก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ เนื่องจากระบบประสาทหู และเซลล์ขนในหูชั้นในเสื่อมลง จึงทำให้ผู้สูงอายุเริ่มฟังเสียงไม่ชัดเจน จนทำให้ลูกหลานต้องเปล่งเสียงที่ดังขึ้นกว่าปกติ จนอาจเกิดปัญหาผิดพลาดด้านทางการสื่อสาร เมื่อเราทราบถึงปัญหานี้แล้วเราก็ควรทำความเข้าใจเหล่าผู้สูงวัย และปรับเปลี่ยนน้ำเสียงในการสื่อสารกับผู้สูงอายุโดยใช้น้ำเสียงในโทนต่ำ พูดใกล้ๆ หู และพูดช้าๆ เพื่อให้เขาลองอ่านรูปปาก สามารถทำความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นค่ะ
เพราะโรคภัยต่างๆ ที่ผู้สูงอายุต้องพบเจอเมื่อก้าวเข้าสู่วัยอาวุโส ซึ่งเป็นเรื่องที่ตัวเขา และคนรอบตัวหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ทุกคนก็สามารถวางแผน และเตรียมการรับมือ หรือชะลอการเกิดโรคเหล่านี้ได้ เพียงแค่เราทำความเข้าใจ และลงมือทำ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลในเรื่องอาหาร ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ และหมั่นตรวจเช็กสุขภาพ พบแพทย์ตามนัดหมาย รวมทั้งการจัดการสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้มีชีวิตชีวา ลูกๆ หลานๆ คอยพูดคุยเอาใจใส่ให้ผู้สูงวัยเป็นส่วนหนึ่งในทุกกิจกรรม หรือถ้าใครกำลังมองหาตัวช่วยผู้อาวุโสในเรื่องของการดูแลและบำรุงร่างกาย ก็สามารถมาเลือกช็อปได้ที่ท็อปส์ ทุกสาขา หรือจะชวนผู้สูงวัยมาช็อปสะดวกง่ายด้วยกันผ่านช่องทางท็อปส์ ออนไลน์ ทั้งทางเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันก็ได้เช่นกันค่ะ แถมยังช็อปได้ทุกที่ทุกเวลาตลอด 24 ชม. อีกด้วยนะคะ ดีงามแบบนี้ไม่ช็อปไม่ได้แล้วล่ะค่ะทุกคน ไปค่ะไปช็อปกัน คลิกเลย!
Comments