top of page
Branding_100[Jun2023]-03.jpg

ขนมเข่ง ขนมเทียน ขนมไหว้เจ้ายอดฮิต

เมื่อถึงเทศกาลไหว้เจ้า นอกจากสรรพสัตว์ต่างๆ ผลไม้ เครื่องไหว้ ของใช้ในพิธี สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ ขนม ถูกต้องมั้ยคะ ขนมไหว้พิเศษสำหรับงานไหว้สารทจีนยอดฮิต ก็คือ ขนมเข่ง และขนมเทียน นั่นเอง วันนี้แอดมินสาวหมวยจะพามาทำความรู้จักขนมไหว้ 2 ชนิดนี้กันนะคะ

During the Ghost Festival, you might prepare meat, fruits, incense and other offerings and materials for the festival. But what shouldn’t be missing are confections. That’s right! The confections specially made for this festival are Chinese rice cake (Khanom Kheng) and stuffed dough pyramid (Khanom Thian). Let’s get to know more about these 2 confections.

ขนมเข่ง หรือที่ชาวจีนเรียกว่า “เหนียนเกา” เพราะชื่อไปพ้องกับคำว่า “เหนียนเหนียนเกา” แปลว่า “แต่ละปีดีขึ้นกว่าปีก่อน” ขนมแป้งกวนผสมน้ำตาลเหนียวหนืดชนิดนี้ จึงเป็นที่นิยมใช้ไหว้เจ้านี้มาแต่โบราณ สันนิษฐานว่าตั้งแต่ครั้งราชวงศ์โจว หรือเมื่อประมาณ 3000 ปีที่แล้ว รวมทั้งตำนานความเชื่อว่าบรรดาเทพเจ้าจีนที่คอยปกปักรักษามนุษย์ในโลก จะต้องขึ้นไปถวายรายงานความดีความชอบ และความชั่วที่มนุษย์ทุกคนได้กระทำกับองค์เง็กเซียนฮ่องเต้บนสวรรค์ ดังนั้นเหล่าบรรดาคนที่รู้ว่าตนเองไม่ได้ทำความดีกับเขาสักเท่าไร จึงคิดทำขนมชนิดนี้ไปถวายให้บรรดาท่านเทพ เพื่อหวังให้แป้งเหนียว ๆ ช่วยปิดปากท่านเทพให้พูดไม่ได้ รายงานความชั่วของตัวเองให้องค์เง็กเซียนฮ่องเต้ฟังไม่ได้ด้วย

ในขณะที่มีอีกตำนานว่า สืบเนื่องมาจากในยุคที่ชาวจีนอพยพย้ายถิ่นฐาน หนีความลำบากเข้ามาตั้งรกรากในเมืองไทย ระหว่างเดินทางโดยเรือสำเภาเป็นเวลานาน จึงต้องมีเสบียงอาหารที่เก็บรักษาไว้ประทังชีวิต และขนมเข่งก็เป็นอาหารที่ตอบโจทย์ความต้องการนี้ได้อย่างพอดิบพอดี เลยได้กลายมาเป็นอาหารสำคัญสำหรับชาวจีนในยุคอพยพย้ายถิ่น ซึ่งพอช่วงต่อมามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ถึงวันไหว้เจ้า คนจีนเลยถือเอาขนมเข่งที่เคยเป็นเสบียงสำคัญในช่วงยากลำบาก มาเซ่นไหว้เทพเจ้า เพื่อเป็นที่ระลึกถึงวันที่ต้องปากกัดตีนถีบนั่นเอง

Khanom Kheng or what the Chinese calls "Nian Gao" sounds similar to "Nian Nian Gao" meaning "Each year thing's getting better.” That’s why this sticky confection made from dough and sugar is usually offered to God since a long time ago. The origin can probably be traced back to the Zhou Dynasty or about 3,000 years ago. Also, some people believed that the tutelary deities who protect humans in the world would return to heaven to report good and bad practices we did to The Jade Emperor. Those people who realized that they hadn’t performed good deeds started the idea of making this particular sweet as an offering to the deities. Their intention was that the sticky dough would stop them from reporting to the Emperor about what they had done wrong.

There's another story telling that the confection was first made during China's Great Migration. At that time, the Chinese escaped from poverty and settled down in Thailand. A long journey on the junk required them to supply some food to keep them survive and they found that Khanom Kheng was a perfect match. This confection has finally become the important dish for the Chinese migrants. When their lives were better, they offered Khanom Kheng, the food for life as the offering to the Deities to remind them of the difficult time.

สำหรับที่มาของชื่อขนมเข่งในประเทศไทยนั้น เดิมทีชาวจีนมักจะทำขนมใส่ในกระทงใบตองแห้งแล้ววางไว้ในเข่งไม้ไผ่ใบเล็กๆอีกทีต่อมาเมื่อเข่งไม้ไผ่หายากขึ้นจึงเปลี่ยนมาใช้วัสดุอื่นแทน แต่ผู้คนทั่วไปก็ยังเรียกว่าขนมเข่งอยู่ดี ส่วนผสมหลักของขนมคือ แป้งข้าวเหนียวกับน้ำตาล เดิมมี 2 สี คือ ขนมเข่งสีขาวที่ทำจากแป้งข้าวเหนียวขาว กับขนมเข่งสีดำที่ทำจากแป้งข้าวเหนียวดำ แทนสัญลักษณ์หยินกับหยาง แต่ปัจจุบันก็ยังมีขนมเข่งสีออกน้ำตาลที่ใช้แป้งข้าวเหนียวขาวกับน้ำตาลทรายแดงมาให้เลือกซื้อกันด้วย

You probably wonder why this confection is named Khanom Kheng in Thailand. Originally the Chinese tended to put the confection in a dried banana leaf vessel and place it in a small bamboo basket. Later on the bamboo is hard to find, so they use other materials instead. However, people still call it "Khanom Kheng.” The main ingredients of the confection include glutinous rice flour and sugar. Khanom Kheng is originally made in 2 colors. The white one is made from white glutinous rice flour and the black one is made from black glutinous rice flour as a symbol of Yin and Yang. Nowadays, you can also find Khanom Kheng in brown color made from white glutinous rice flour and brown sugar. In case you wish to make your own Khanom Kheng, simply follow these easy steps.

วัตถุดิบและส่วนผสมสำหรับทำขนมเข่ง

- แป้งข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม

- น้ำ 1 ถ้วย

- น้ำตาลปี๊บหรือน้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม

- มะพร้าวขูด 300 กรัม

- กระทงใบตองแห้งสำหรับใส่ขนม

- น้ำมันพืชสำหรับทากระทง

ขั้นตอนการทำขนมเข่ง

- นวดแป้งข้าวเหนียวกับน้ำจนแป้งนุ่ม จากนั้นใส่น้ำตาลลงนวดให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว

- ใส่มะพร้าวขูดลงคนผสมให้เข้ากัน ตักใส่กระทง ประมาณ 3/4 ของกระทง โดยทากระทงด้วยน้ำมันพืชให้ทั่ว เตรียมไว้ก่อน เพื่อกันแป้งเหนียวติดกระทง

- วางขนมเรียงลงในซึ้งนึ่ง จากนั้นนำไปนึ่งด้วยไฟแรงที่มีน้ำเดือด นานประมาณ 1/2 ชั่วโมง ยกลงจากเตา พักทิ้งไว้จนเย็น ใช้กรรไกรตัดเจียนกระทงที่เกินออกให้พอดีกับขนม พร้อมรับประทาน

แล้วทำไมขนมเข่งต้องมีจุดสีแดง

ก็เพราะแถบบ้านเรามักจะใช้น้ำตาลทรายขาวทำขนมเข่ง จึงได้เนื้อขนมเป็นสีขาว ซึ่งสีขาวสำหรับคนจีนเป็นสีไม่มงคล จึงเอาสีแดงมาแต้มเป็นการแก้เคล็ด นอกจากแต้มจุดแดงกันแล้ว ก็ยังมีการประทับตราสีแดงเป็นคำมงคลให้เห็นอยู่บ้าง

Ingredients and Materials

- 1 kg. glutinous rice flour

- 1 cup water

- 1 kg. loaf sugar or sugar

- 300 g. shredded coconut

- Dried banana leaf vessel

- Cooking oil to grease the vessel

Methods

- Knead the glutinous rice flour and water until the dough becomes elastic and stretchy. Add sugar to the dough until the ingredients are well mixed.

- Add shredded coconut and mix well. Put 3/4 of mixed ingredients into the banana leaf vessel. Grease the banana leaf vessel with cooking oil to prevent the mixture from sticking on the vessel.

- Put them in a steamer and steam over high heat for about 1/2 hour. Put them down and let them cool. Cut off the excessive part of the vessel to fit the dessert and it is ready to serve.

Why does Khanom Kheng have a red dot on it? The reason is that the confection is made from white sugar in Thailand. So, the confection is in white color. However, for Chinese people white is regarded inauspicious. As a result, the red dot is put on the confection to dispel the bad luck. Some confection could also be found stamped with auspicious words in red.

ส่วนขนมเทียนนั้น เป็นการดัดแปลงขนมเข่งแบบต้นตำรับจากประเทศจีน มาเป็นขนมฟิวชั่นที่มีความเป็นไทยมากขึ้น ซึ่งแต่ละท้องถิ่นอาจเรียกชื่อต่างกัน เช่น ขนมจ๊อก หรือ ขนมนมสาว แต่มีลักษณะคล้ายกันคือ เป็นแป้งหุ้มไส้ ห่อด้วยใบตอง เป็นทรงสามเหลี่ยมยอดแหลมคล้ายเจดีย์ เนื้อขนมทำจากแป้งข้าวเหนียวกวนผสมน้ำตาลปี๊บ ไส้ที่นิยมคือไส้เค็ม ทําจากถั่วเขียวนึ่งบด ผัดและปรุงรสกับพริกไทยให้ออกเค็มเผ็ด ส่วนไส้หวาน จะทำจากมะพร้าวผัดกับน้ำตาลปี๊บ

ไม่ว่าขนมเข่งหรือขนมเทียน คนไทยเชื้อสายจีนมักไหว้ขนม 2 ชนิดนี้คู่กันเสมอ เพราะเชื่อว่าเป็นความหมายดีๆ

- ขนมเข่ง หมายถึง ความหวานชื่น ชีวิตมีความราบรื่น

- ขนมเทียน หมายถึง ความสว่างรุ่งเรือง รูปลักษณ์ที่เป็นสามเหลี่ยมกรวยแหลม เหมือนกับเจดีย์ ซึ่งมีนัยยะที่ดีทางศาสนา

Khanom Thian or Stuffed dough pyramid is adapted from Khanom Kheng originally made in China. It is a fusion confection that looks and feels more Thai. Its name can be varied in the different areas such as Khanom Jok or Khanom Nom Sao but the appearances are quite similar. The confection with filling is wrapped with banana leaf in triangular shape just like the pagoda's top. The dough is made from stirred glutinous rice flour mixed with loaf sugar. The savory filling made from steamed mashed green beans cooked and seasoned with pepper for a little spicy and salty taste is very popular. The sweet filling is made from coconut fried with loaf sugar.

Chinese-Thai people often use both Khanom Kheng and Khanom Thian together as the offerings to the Deities. They believe the confections represent auspicious meanings.

- Khanom Kheng means a happy and peaceful life

- Khanom Thian means prosperity. The pyramid shape resembles the top of pagoda which represents a positive religious implication.

Tops online ครบเครื่องเรื่องของไหว้

Tops online, a place you can easily find all the sacrificial offerings in no time.

Comments


Branding_100[Jun2023]-02.jpg
shop anywhere.jpg
bottom of page